![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() ![]() |
![]() |
![]() | ||
![]() |
|
![]() |
![]() มองมุมใหม่ : วันประชาธิปไตย ผศ.ดร.รุธิร์ พนมยงค์
นอกจากนี้ จากการที่มีอดีตวีรชนเดือนตุลาคมได้เข้าร่วมในคณะรัฐบาลชุดนี้ ทำให้ผมไม่ค่อยแปลกใจเท่าใดนัก ที่ทางรัฐบาลจะให้การสนับสนุนในกิจกรรมต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 14 ตุลาคมของปีนี้ ผมไม่ได้บอกว่า สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ไม่ดี หากแต่มีสิ่งหนึ่งที่ผมรู้สึกสงสัยขึ้นมา ก็คือ ถ้ามีการประกาศให้วันที่ 14 ตุลาคม เป็น "วันประชาธิปไตย" แล้ววันที่ 24 มิถุนายน จะกลายเป็นวันอะไร? วันที่ 24 มิถุนายน 2475 นับว่าเป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ทางการเมืองการปกครองของประเทศไทยวันหนึ่ง เพราะเป็นวันที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ จากการประกาศข้างต้น ทำให้เกิดคำถามติดตามมาว่า หากมีการเปลี่ยนให้วันที่ 14 ตุลาคม เป็นวันประชาธิปไตยแล้วนั้น แล้ววันที่ 24 มิถุนายน จะเป็นวันอะไร ประเด็นนี้ได้มีการถกเถียง และเสนอความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง โดยบางท่านได้เสนอว่า ให้วันที่ 14 ตุลาคม เป็นวันประชาธิปไตยใหม่ และวันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันประชาธิปไตย (ปกติหรือเก่า) ซึ่งในประเด็นนี้มันไม่ได้อยู่ที่ว่าจะเป็นวันประชาธิปไตยใหม่ หรือวันประชาธิปไตย (ปกติ) กันแน่ แต่ประเด็นมันอยู่ที่ตรงว่า ประชาธิปไตยนั้น มีเพียงประชาธิปไตยเดียว ไม่มีเก่า และไม่มีใหม่ ดังนั้น การจะบอกว่าวันนี้เป็นวันประชาธิปไตยใหม่ และวันนั้นเป็นวันประชาธิปไตย (ปกติ) จึงเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และสร้างความสับสน อย่างไรก็ตาม ในเมื่อได้มีการประกาศออกมาแล้วว่า วันที่ 14 ตุลาคม คือ วันประชาธิปไตย และได้กำหนดให้มีการเพิ่มเติมในหลักสูตรการเรียนการสอนภาคบังคับในปัจจุบัน เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย รวมถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงวันที่ 14 ตุลาคม 2516 ด้วยแล้ว ท่านผู้อ่านเห็นว่า เราควรจะทำอย่างไรกันดีกับวันที่ 24 มิถุนายน ในความเป็นจริงแล้ว หากเรามาลองถามกันดูว่า วันใดมีความสำคัญมากกว่ากัน ก็คงจะตอบได้ว่า หากไม่เกิดเหตุการณ์ในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ขึ้นมา ก็ย่อมจะไม่เกิดเหตุการณ์ในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 ติดตามมาอย่างแน่นอน ดังนั้น จุดเริ่มต้นของระบบประชาธิปไตยที่แท้จริงของประเทศไทย ก็คือ วันที่ 24 มิถุนายนนั่นเอง สำหรับในเรื่องนี้ ผมไม่ได้บอกว่า เราไม่ควรรำลึกถึงวันที่ 14 ตุลาคม 2516 แต่สิ่งที่ผมกำลังจะบอก ก็คือ หากวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยของประเทศไทย เราก็น่าจะนับวันนี้เป็นวันหยุดทางราชการด้วย เพื่อที่จะได้รำลึกถึงความสำคัญของวันดังกล่าว และหากมีการกำหนดให้วันที่ 14 ตุลาคม เป็นวันประชาธิปไตย เราก็ควรให้ความสำคัญกับวันที่ 24 มิถุนายนเช่นเดียวกัน โดยอาจมีการประกาศให้วันที่ 24 มิถุนายน เป็น "วันอภิวัติ" ซึ่งมีความหมายว่า วันแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ นอกจากนี้ ท่านผู้อ่านทราบกันหรือไม่ว่า ในทุกๆ ปีของวันที่ 24 มิถุนายน บรรดาญาติพี่น้อง ลูก และหลานของคณะผู้ก่อการปี 2475 จะมีการทำบุญร่วมกันที่วัดพระศรีมหาธาตุ ซึ่งเป็นสถานที่ที่เก็บอัฐิของคณะผู้ก่อการ เพื่อรำลึกถึงสิ่งที่คณะผู้ก่อการได้กระทำไป โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นงานภายในหมู่ญาติมิตรของผู้ก่อการ มีเพียงน้อยคนนักที่ทราบข่าว และในปีนี้ก็จะมีการทำบุญเช่นเดียวกันกับทุกปี หากท่านผู้อ่านท่านใดสนใจที่จะร่วมกันทำบุญและรำลึกถึงคณะผู้ก่อการก็สามารถเดินทางไปร่วมงานได้ สุดท้ายนี้ สิ่งที่ผมอยากจะบอกท่านผู้อ่านก็คือ การที่รัฐสภากำหนดให้วันที่ 14 ตุลาคม เป็นวันประชาธิปไตย นั้น ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีและควรจะกระทำ เพื่อให้รำลึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนั้น และเตือนสติของคนในชาติ แต่สิ่งที่เราไม่ควรจะลืม ก็คือ ความสำคัญของวันที่ 24 มิถุนายน ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นที่แท้จริงของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยในประเทศไทย
|
![]() |
กรุงเทพทัศนะ
หัวข้อ 5 อันดับ ล่าสุด
|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() ![]() |
copyright @ 2000 Nation Group /
Produced & Designed by : KT Internet Dept. All Right Reserved, Contact us : ktwebmaster@bangkokbiznews.com ![]() |
![]() |