go




วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545


ข่าวหน้าหนึ่ง

ทัศนะวิจารณ์

เศรษฐกิจการเงิน

ธุรกิจการตลาด

การเมือง

ไอที-อินเทอร์เน็ต

เศรษฐกิจทั่วไทย

การศึกษา

ต่างประเทศ

กีฬา

จุดประกาย



เสาร์สวัสดี
จุดประกายวรรณกรรม

กรุงเทพวันอาทิตย์

ยานยนต์

กรุงเทพไอที

ถนนนักลงทุน

เนชั่นสุดสัปดาห์

หนังสือขายดี



มองมุมใหม่ : เชียงใหม่ ศูนย์กลางฯ ทางอากาศ..... ฝันหรือความเป็นจริง

ผศ.ดร.รุธิร์ พนมยงค์
ท่านผู้อ่านคงได้รับทราบเกี่ยวกับงานสัมมนาวิชาการของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กันมาบ้าง งานนี้เป็นงานสัมมนาคณะ ครบ 64 ปี ที่มีการพูดถึงในหัวข้อของ "ความท้าทายในการบริหารโซ่อุปทานในภูมิภาคเอเชีย"

ผมอยากจะพูดถึงนิดหน่อยว่า ในส่วนของโซ่อุปทานเองนั้น ปัจจุบันมีการให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการบริหารระบบให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และการบริหารระบบที่จะเข้ามาตอบสนองความต้องการของลูกค้า การควบคุมต้นทุนในการบริการ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการบริหารโซ่อุปทาน

หัวข้อในวันนี้ค่อนข้างจะเกี่ยวข้องกับ Supply Chain โดยเป็นกิจกรรมหนึ่งที่อยู่ในขบวนการ ซึ่งก็คือ กิจกรรมทางด้านการขนส่ง สิ่งที่ผมอยากจะพูดถึงก็คือ การขนส่งทางอากาศ เมื่ออาทิตย์ก่อนผมได้ยินท่านนายกฯ พูดว่า กำลังมีการวางแผนให้เชียงใหม่และภูเก็ตเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศสำหรับประเทศไทย

โดยมองว่า เชียงใหม่น่าจะเป็นศูนย์กลางฯ สำหรับประเทศในแถบลุ่มแม่น้ำโขง ในขณะที่ภูเก็ตเป็นศูนย์กลางฯ สำหรับกลุ่มประเทศในเอเชียตอนใต้และประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ

ผมอยากให้ลองมองกันนิดหนึ่งว่า ไทยกำลังสร้างสนามบินสุวรรณภูมิขึ้นมา เพื่อเป็นศูนย์กลางฯ ของภูมิภาคนี้แล้ว และการที่ประเทศใดประเทศหนึ่งจะมีศูนย์กลางฯ (Hub) มากกว่า 1 แห่งนั้น จะทำได้ยากมาก ประเทศสหรัฐอเมริกาสามารถที่จะทำได้ เพราะมีพื้นที่ขนาดใหญ่ จึงจำเป็นต้องมีศูนย์กลางฯ หลายแห่ง

ถ้าเรามามองประเทศในแถบยุโรป ศูนย์กลางที่แท้จริงทางด้านการขนส่งทางอากาศก็จะอยู่ที่เมืองหลวงเป็นส่วนใหญ่ ภายใต้เงื่อนไขของระบบ Hub and Spoke นั้น จะมีจุดเชื่อมที่อยู่ในประเทศที่มีหน้าที่ในการกระจายและรวบรวมผู้โดยสารหรือสินค้าที่มาจากบริเวณนั้น หรือบริเวณใกล้เคียง

แนวคิดนี้ไม่ใช่แนวคิดใหม่ มีการใช้มานานมากแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมการขนส่งทางทะเล โดยในการให้บริการของสายเดินเรือขนาดใหญ่นั้น จะมีการกำหนดว่าท่าเรือใดจะเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค ซึ่งท่าเรือนั้นๆ จำเป็นต้องมีสินค้าจำนวนมากที่จะให้เรือแม่ของสายเดินเรือเหล่านี้เข้าไปขนส่งสินค้าได้ทุกเที่ยวของการเดินทาง

หากมองกันแล้วในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มี hub ที่สำคัญได้แก่ ที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นจุดศูนย์รวมสินค้าสำหรับด้านการขนส่งทางทะเล หรือฮ่องกง หรือไต้หวัน เป็นต้น โดยอาจจะพิจารณาแนวคิดนี้ได้จากภาพด้านล่าง

สำหรับเชียงใหม่นั้น ในการจะเปิดเส้นทางการบินและบอกว่า เชียงใหม่เป็นศูนย์กลางฯ นั้น เราไม่สามารถบอกได้ จำเป็นต้องพิจารณาจากจำนวนผู้โดยสารและสินค้าที่มีอยู่ในบริเวณนั้นว่ามีปริมาณเพียงพอไหม ที่จะเป็นเหตุผลในการให้มี Direct service เกิดขึ้น การเปิดให้บริการอาทิตย์ละ 1 ครั้งนั้น เราสามารถที่จะทำได้ แต่การเป็น hub อย่างแท้จริง จำเป็นที่จะต้องเชื่อมโยงกับระบบเครือข่ายทางด้านการขนส่งด้านอื่นๆ ด้วย

ในปัจจุบัน hub ที่แท้จริงของประเทศไทย ก็คือ สนามบินดอนเมือง ไม่ว่าจะเป็นประเทศลาว เวียดนาม หรือพม่า ก็จำเป็นต้องเข้ามาใช้สนามบินดอนเมืองในการเดินทางไปยังยุโรปหรือสหรัฐ ซึ่งการที่ประเทศไทยมี hub อยู่แล้ว ผมจึงไม่เข้าใจว่า ทำไมถึงมีการกำหนดให้เชียงใหม่เป็น hub อีกแห่งหนึ่ง ผมว่ามันไม่ค่อยจะสมเหตุสมผลสักเท่าใดนัก เพราะเมื่อดูจากจำนวนผู้โดยสารและปริมาณสินค้าเชียงใหม่ ไม่น่าจะเป็นศูนย์กลางฯ ได้

คำถามตามมาก็คือ แล้วเป็น hub ย่อยได้หรือไม่ เราก็คงต้องมาดูกันที่ปริมาณผู้โดยสารและสินค้าอีกเช่นกันว่า มีความเพียงพอหรือไม่ที่จะทำให้ประเทศเพื่อนบ้านตัดสินใจเปิดเส้นทางการบินโดยตรงไปยังเชียงใหม่ จะต้องเข้าใจว่าในการเปิดเส้นทาง สายการบินจำเป็นที่จะต้องมีกำไร

ผมไม่ค่อยเข้าใจว่า ทำไมรัฐถึงชอบเข้ามากำหนดว่า สถานที่ใดควรเป็นศูนย์กลาง เพราะในความเป็นจริงแล้วนั้น ที่ใดจะเป็น hub ได้จะขึ้นอยู่กับลูกค้าเป็นสำคัญ โดยมองว่าเขาจะได้รับประโยชน์จากการผ่าน hub นั้นๆ หรือไม่ สำหรับเชียงใหม่ เราควรต้องมองว่า ในการที่รัฐจะทำการขยายสนามบิน เพื่อรองรับผู้โดยสาร แต่ปรากฏว่าไม่มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นนั้น เป็นสิ่งที่สมเหตุผลหรือไม่

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ สนามบินมัณฑะเลย์ของประเทศพม่า ที่ไม่มีผู้โดยสารมาใช้เท่าใดนักทั้งๆ ที่มีการขยาย runway และอาคารผู้โดยสาร สิ่งที่ผมอยากจะฝากไว้ก็คือ การที่รัฐบาลจะคิดหรือดำเนินการสิ่งใดนั้น ควรมีการศึกษาระบบ hub & spoke ให้มากกว่านี้

ผมเข้าใจว่าทุกประเทศก็ต้องการให้ตนเองเป็น hub ของภูมิภาค ซึ่งจากผลวิจัยที่ผมได้ทำร่วมกับคณะเลขาธิการของอาเซียน เกี่ยวกับการพัฒนาระบบลอจิสติกส์ในภูมิภาคนี้ ปรากฏว่า เราไม่สามารถที่จะบอกว่า ท่าเรือหรือสนามบินใดจะเป็น hub ของภูมิภาคนี้ เพราะเป็นสิทธิของแต่ละประเทศที่จะกำหนด

เราบอกได้เพียงแต่ว่า ท่าเรือหรือสนามบินเหล่านี้อยู่ในเครือข่ายทางด้านการขนส่งของอาเซียน สุดท้ายนี้ผมอยากจะขอให้รัฐคิดทบทวนดูว่า การจะสร้างเชียงใหม่ให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศนั้น เป็นสิ่งที่สมควรแล้วหรือ……สำหรับประเทศไทย


กรุงเทพทัศนะ
เวทีสาธารณะสำหรับ การ แสดงความคิดเห็น ผู้อ่านสามารถ ส่งบทความพิเศษ รายงานพิเศษ รายงานการวิจัย รายงานจากภาคสนาม เรื่องราวร้องทุกข์ หรือ จดหมาย มาได้ที่นี่
ชื่อคุณ :
หัวข้อ :
ข้อความ :

หัวข้อ 5 อันดับ ล่าสุด
276 . การจัดระเบียบเว็บไซต์ของหน่วยงานราชการ [ 0 ]
275 . การประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ [ 0 ]
274 . smoke-free!! [ 0 ]
273 . ฟีเวอร์.... [ 1 ]
272 . คุมบัตรเครดิตนโยบายนี้เพื่อแบงก์ไทย [ 11 ]




About Us I Suggestion I Site Map I GetThaiFont | Contact Us I Privacy Policy

copyright @ 2000 Nation Group / Produced & Designed by : KT Internet Dept.
All Right Reserved, Contact us : ktwebmaster@bangkokbiznews.com