go



chuwit
วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2546


ข่าวหน้าหนึ่ง

ทัศนะวิจารณ์

เศรษฐกิจการเงิน

ธุรกิจการตลาด

การเมือง

ไอที-อินเทอร์เน็ต

คุณภาพชีวิต

นวัตกรรม

ต่างประเทศ

กีฬา

จุดประกาย



เสาร์สวัสดี
จุดประกายวรรณกรรม

กรุงเทพวันอาทิตย์

@Taste

กรุงเทพ Auto

SciTech

Biz & Money

เนชั่นสุดสัปดาห์

ไขปัญหาภาษี



มองมุมใหม่ : CSI : Custom Security Initiative (2)

ผศ.ดร.รุธิร์ พนมยงค์
ในตอนที่แล้ว (11 ส.ค. 2546) ผมได้พูดถึง CSI ว่า มาตรการนี้คืออะไร และมีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับประเทศไทย รวมถึงภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการนำมาตรการนี้มาใช้ว่าตกอยู่ที่ผู้ใด สำหรับในวันนี้ผมจะมาพูดต่อจากคราวที่แล้วถึงความเกี่ยวข้องของมาตรการ CSI กับระบบลอจิสติกส์ว่ามีความสัมพันธ์กันเช่นไร

ในปัจจุบันเราพบว่ามีหลายๆ ประเทศ ได้เริ่มนำมาตรการ CSI นี้มาใช้ปฏิบัติแล้ว ซึ่งในการปฏิบัตินั้นก็มีการกำหนดเงื่อนไขควบคู่กันไปด้วย

เช่น ที่ท่าเรือฮ่องกงเองนั้นก็ได้มีการออกมาพูดอย่างชัดเจนว่า หากมาตรการ CSI สร้างความยุ่งยากให้แก่ผู้ประกอบการ ท่าเรือฮ่องกงก็จะไม่นำมาตรการ CSI นี้มาใช้อย่างเด็ดขาด ทั้งนี้ ก็เนื่องมาจากการที่ท่าเรือฮ่องกงให้ความสำคัญต่อผู้ที่เข้ามาใช้บริการเป็นสำคัญ

นอกจากนี้ การทำงานภายใต้มาตรการ CSI นี้ ทางสหรัฐจะต้องมีการส่งเจ้าหน้าที่ศุลกากรของสหรัฐ มาทำการสุ่มตรวจตู้คอนเทนเนอร์ที่ท่าเรือในประเทศไทย ซึ่งก็จะเกิดคำถามตามมาอีกว่า เจ้าหน้าที่ศุลกากรที่มานั้นมีอำนาจมากน้อยเพียงใดในการเลือกตรวจตู้และค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จะต้องเกิดขึ้นใครจะเป็นผู้รับภาระ หรือว่าก็ไม่พ้นภาระของผู้ประกอบการและรัฐบาลไทย

ข้อมูลทางสถิติจากองค์กรแห่งหนึ่ง ได้ระบุว่า ปัจจุบันจำนวนตู้สินค้าที่เข้ามาในสหรัฐ ที่ผ่านการขนส่งทางทะเลนั้น ทางสหรัฐเองก็มีความสามารถที่จะตรวจสอบได้เพียงแค่ 2% จากจำนวนทั้งหมดเท่านั้น และก็ไม่มีท่าทีว่าจะสามารถตรวจสอบเพิ่มได้ด้วย ทำให้ผู้ประกอบการที่ถูกบังคับให้อยู่ภายใต้กรอบ CSI มีความรู้สึกว่าไม่เป็นธรรม

เพราะไม่ว่าจะมี CSI หรือไม่ ทางสหรัฐก็ไม่สามารถที่จะตรวจตู้ได้ทั้งหมดอยู่แล้ว หากตนจะต้องมาอยู่ภายใต้กรอบของ CSI ตนก็จะต้องโดนตรวจสอบแน่ๆ ที่ท่าเรือต้นทาง แต่สินค้าจากประเทศที่ไม่ได้อยู่ภายใต้ CSI บางครั้งอาจจะโดนตรวจสอบหรืออาจจะไม่ก็ได้

ตามที่เคยได้กล่าวมาแล้ว ท่านผู้อ่านอาจจะคิดว่ามาตรการ CSI นี้ ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ประการใดกับประเทศไทย

แต่หากเรามามองในอีกมุมมองหนึ่ง ก็จะเห็นว่าถ้าประเทศไทยมีการนำมาตรการ CSI นี้มาใช้สำหรับการส่งออกสินค้าจากประเทศไทยไปยังสหรัฐ ก็จะสะดวกขึ้น เพราะได้มีการตรวจสอบเบื้องต้นมาแล้ว ทำให้พิธีการของสินค้าเข้าสหรัฐจะสะดวกขึ้นมาก รวมถึงเวลาที่ใช้ในการส่งออกของผู้ประกอบการไทยก็จะลดลง ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้รวดเร็วขึ้น

นี่เองจึงเป็นที่มาของการที่บางประเทศที่ไม่ได้อยู่ในเครือข่าย CSI มองว่าประเทศที่อยู่ในเครือข่ายจะมีความได้เปรียบทางการแข่งขันมากกว่าตน และจะมีการเลือกปฏิบัติสำหรับท่าเรือที่อยู่ในเครือข่าย CSI กับที่ไม่ได้อยู่ในเครือข่าย และหากมองกันต่อไปก็จะพบว่า ในอนาคตระบบลอจิสติกส์ระหว่างประเทศ ก็อาจมีการแบ่งออกเป็น 2 ระดับ

คือ ระดับธรรมดา ได้แก่ ประเทศที่ไม่ได้อยู่ภายใต้เครือข่าย CSI ซึ่งก็จะต้องผ่านกระบวนการการนำเข้าทุกอย่างอย่างเข้มงวด กับ อีกระดับหนึ่ง ก็คือ ระดับปลอดภัย ซึ่งก็คือสินค้าที่ถูกนำเข้ามาจากเครือข่าย CSI ก็จะได้รับสิทธิพิเศษทั้งในเรื่องของพิธีการการนำเข้า หรือระยะเวลาที่รวดเร็วกว่า

หากเป็นดังที่กล่าวมานี้ ก็อาจกล่าวได้ว่ามาตรการ CSI นี้ ไม่ได้เข้ามาแก้ปัญหาเรื่องความปลอดภัยดังที่สหรัฐต้องการได้อย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ ยังจะทำให้ทั่วโลกมองว่า ระบบลอจิสติกส์ระหว่างประเทศนั้นเกิดการแบ่งชนชั้นกันขึ้น

คำถามเหล่านี้ยังคงต้องหาคำตอบกันต่อไป ซึ่งในการประชุม APEC ที่จะมีขึ้นเร็วๆ นี้ก็จะมีการหยิบยกเรื่อง CSI ขึ้นมาพูดโดยกรมศุลกากร และได้มีการเชิญตัวแทนจากผู้ส่งออก ผู้ให้บริการการขนส่ง ศุลกากร เข้ามาร่วมหารือกันว่าจะมีวิธีการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้เหมาะสมกับการปฏิบัติในประเทศไทยได้อย่างไรบ้าง

ซึ่งที่จริงก็ควรจะมีตัวแทนจากฝั่งของผู้นำเข้าร่วมด้วย เพื่อที่จะได้รับรู้ถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้น และร่วมกันสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้ส่งออก และรัฐบาลของประเทศที่ต้องตกอยู่ภายใต้กรอบของ CSI

ทั้งนี้ ในประเทศที่พัฒนาแล้วการนำมาตรการ CSI นี้มาใช้ พบว่าไม่ประสบปัญหามากเท่าที่ควร เนื่องจากเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ มีอยู่พร้อมแล้ว แค่ปรับปรุงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่สำหรับประเทศที่กำลังพัฒนาที่ทั้งเครื่องมืออุปกรณ์ก็ไม่ทันสมัย หรือบางประเทศก็ยังไม่มีอุปกรณ์เลย จึงจะต้องจัดซื้อจัดหามาใหม่ทั้งหมด ซึ่งจะต้องใช้เงินลงทุนอย่างมหาศาล ดังเช่นประเทศไทย เพื่อมาสนองตอบต่อกรอบของ CSI

มาตรการ CSI นั้นถูกนำมาใช้ เพื่อสร้างความปลอดภัยให้แก่ประเทศสหรัฐ ซึ่งเป็นผลดีต่อประเทศสหรัฐเอง แต่กลับส่งผลกระทบอย่างมากมายต่อทั้งผู้ประกอบการส่งออกของประเทศอื่นๆ รวมถึงรัฐบาลของประเทศเหล่านั้นด้วยที่จะต้องจัดเตรียมและจัดหาระบบ เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ เพื่อมารองรับมาตรการ CSI ที่จะถูกบังคับใช้ในอนาคต

ซึ่งถ้าหากสหรัฐเองยื่นมือเข้ามาร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จะต้องเกิดขึ้นกับประเทศเหล่านั้น ก็น่าที่จะช่วยให้ระบบการรักษาความปลอดภัยนี้ประสบความสำเร็จอย่างง่ายดาย

แต่ปัจจุบันกลับไม่เป็นเช่นนั้น ค่าใช้จ่ายทุกๆ อย่างกลับตกเป็นของผู้ประกอบการและรัฐบาลของประเทศที่ถูกบังคับให้ใช้มาตรการ CSI แทน นอกจากนี้ ความไม่เป็นธรรมในการตรวจสอบก็เริ่มส่อแววขึ้น หากมีการนำมาตรการ CSI นี้มาใช้กับท่าเรือเพียงไม่กี่แห่ง เพราะจะเกิดการเลือกปฏิบัติกับท่าเรือแต่ละแห่งแตกต่างกันไป

และท้ายสุด การนำมาตรการ CSI มาใช้กับท่าเรือเพียงไม่กี่แห่งก็ไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาเรื่องความปลอดภัยให้กับสหรัฐได้อย่างสมบูรณ์


กรุงเทพทัศนะ
เวทีสาธารณะสำหรับ การ แสดงความคิดเห็น ผู้อ่านสามารถ ส่งบทความพิเศษ รายงานพิเศษ รายงานการวิจัย รายงานจากภาคสนาม เรื่องราวร้องทุกข์ หรือ จดหมาย มาได้ที่นี่
ชื่อคุณ :
หัวข้อ :
ข้อความ :

หัวข้อ 5 อันดับ ล่าสุด
339 . 4  กลุ่มหุ้นใหญ่จับมืออุ้ม"ทหารไทย" [ 1 ]
338 . วิธีประหยัดเงิน  ในการใช้แรงงานต่างด้าว(พลาดไม่ได้) [ 1 ]
337 . การแปรรูปรัฐวิสาหกิจอนาคตข้างหน้าชาติจะอยู่อย่างไร [ 1 ]
336 . เห็นด้วยครับ  กับท่านรัฐมนตรี  สิ่งแวดล้อมเรื่องตรวจจับควันดำ [ 2 ]
335 . 4  โฉดยัดยาบ้าเด็ก  ได้เลื่อนขั้นแล้วครับ! [ 18 ]




About Us I Suggestion I Site Map I GetThaiFont | Contact Us I Privacy Policy

copyright @ 2000 Nation Group / Produced & Designed by : KT Internet Dept.
All Right Reserved, Contact us : ktwebmaster@bangkokbiznews.com