go




วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545


ข่าวหน้าหนึ่ง

ทัศนะวิจารณ์

เศรษฐกิจการเงิน

ธุรกิจการตลาด

การเมือง

ไอที-อินเทอร์เน็ต

เศรษฐกิจทั่วไทย

การศึกษา

ต่างประเทศ

กีฬา

จุดประกาย



เสาร์สวัสดี
จุดประกายวรรณกรรม

กรุงเทพวันอาทิตย์

ยานยนต์

กรุงเทพไอที

ถนนนักลงทุน

เนชั่นสุดสัปดาห์

หนังสือขายดี



มองมุมใหม่ : Human Resource Development in Logistics & Supply Chain

ดร.รุธิร์ พนมยงค์
ท่านผู้อ่านคงรู้สึกแปลกใจว่า ทำไมผมถึงเดินทางไปร่วมประชุมอยู่ตลอดเวลา วันนี้ผมก็จะมาเล่าถึง หนึ่งในการประชุม ที่ผมได้เข้าไปร่วมมา การสัมมนานี้ ถูกจัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง องค์การสหประชาชาติ และประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน ซึ่งผมได้มีโอกาสเข้าไปร่วม ในฐานะของวิทยากร และที่ปรึกษาโครงการ

การประชุมในครั้งนี้ เป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างบุคลากรทางด้าน Logistics & Supply chain เนื่องจากในครั้งที่แล้วที่ผมได้เขียนว่า ปัจจุบันได้มีการรวมกลุ่มของนักวิชาการที่จะเข้ามาสนับสนุนงานวิจัยทางด้าน Logistics & Supply chain

ในวันนี้ ผมจึงอยากจะให้เราลองมามองกันอีกมุมหนึ่ง คือ ด้านบุคลากรที่ทำงานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับลอจิสติกส์และโซ่อุปทาน

สำหรับงานในครั้งนี้ ถือเป็นความร่วมมือที่ดีระหว่างองค์การสหประชาชาติ และประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งในที่นี้หมายถึง ตัวแทนจากสมาคมธุรกิจรับจัดการขนส่ง (Freight Forwarder) ซึ่งได้มีการตั้งเป็นสหภาพของผู้รับจัดการขนส่งของอาเซียน โดยเป็นการรวมตัวกันภายใต้กรอบของอาเซียน และมีหน้าที่ในการพัฒนาระดับของการให้บริการ คุณภาพของผู้ให้บริการในธุรกิจรับจัดการขนส่ง

ในปัจจุบัน บริษัทรับจัดการขนส่งเองนั้น เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในด้านการจัดการลอจิสติกส์ แต่ปัญหาที่พวกเขาประสบอยู่คือ การขาดบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านลอจิสติกส์ ซึ่งโดยปกติแล้วธุรกิจรับจัดการขนส่งจะมีความเชี่ยวชาญในด้านการจัดการขนส่งสินค้าให้แก่ผู้ส่งออกหรือผู้นำเข้า

แต่ปัจจุบันลูกค้ามีความต้องการในบริการเสริม ที่สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าของตนเองมากขึ้น สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ค่อนข้างยากสำหรับธุรกิจประเภทนี้ เพราะบริการเสริมที่ลูกค้าส่วนใหญ่ต้องการ ก็คือ การจัดเก็บสินค้าคงคลัง การทำ Warehousing การจัดจำหน่ายสินค้าภายในประเทศ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ธุรกิจรับจัดการขนส่ง จะไม่ค่อยได้ให้บริการมากนัก เนื่องจากขาดความเชี่ยวชาญ

การประชุมในครั้งนี้ ผมได้มีส่วนร่วมกับองค์การสหประชาชาติในการจัดทำคู่มือเกี่ยวกับลอจิสติกส์และระบบโซ่อุปทาน ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการทดลองหลักสูตรที่จัดทำขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อต้องการสร้างบุคลากรในระดับปฏิบัติการ โดยที่จะมอบใบประกอบอาชีพที่เป็นที่ยอมรับของประเทศสมาชิกอาเซียน

หรืออย่างน้อยที่สุด คือ ให้บุคลากรเหล่านี้มีระดับคุณภาพที่เท่าเทียมกัน ซึ่งผมเห็นว่าการที่องค์การสหประชาชาติได้เข้ามาเกี่ยวข้อง น่าจะเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือของเอกสารนี้ ที่แสดงถึงความสามารถของบุคลากรเอง

การประชุมในครั้งนี้ แตกต่างจากการประชุมที่จัดโดยองค์การสหประชาชาติโดยทั่วไป เพราะผู้ที่จะเข้าร่วมงานจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วม โดยคณะทำงานมีความเชื่อที่ตรงกันว่า ถ้าเราต้องการให้ผู้เข้าร่วมงานเห็นความสำคัญของงานที่จัดขึ้นมา อย่างน้อยเขาก็จะต้องเสียสละบ้าง ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในการสัมมนา หรือเวลาที่ใช้ในการอบรมก็ตาม

การประชุมนี้จะเป็นบทสรุปของการทดสอบที่ดีว่า สิ่งที่ทีมงานได้ร่วมกันทำนั้น เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของประเทศสมาชิกอาเซียนมากน้อยเพียงใด แน่นอนว่า เราคงไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการทุกฝ่ายได้ แต่อย่างน้อยเราก็สามารถกำหนดมาตรฐานและสามารถวางกรอบได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมุมมองของธุรกิจรับจัดการด้านลอจิสติกส์ ในอันที่จะทำให้ผู้ประกอบการในธุรกิจนี้ทราบว่าเขาควรจะต้องรู้อะไรบ้าง สามารถให้บริการในด้านใดได้บ้าง และสามารถพัฒนาตนเองไปในทิศทางที่ควรจะเป็น

ท่านผู้อ่านคงจะมองเห็นได้ว่า ความร่วมมือของประเทศสมาชิกอาเซียนนั้น ค่อนข้างจะเป็นความร่วมมือที่ดี แต่พอถึงขั้นปฏิบัติการแล้ว จะมีเงื่อนไขบางประการที่ทำให้ไม่สามารถตกลงกันได้ ซึ่งจะตรงข้ามกับธุรกิจเอกชนที่เป็นสมาชิกของอาเซียนกลับมีความรู้สึกผูกพันกันมาก และทุกสิ่งที่พวกเขาทำจะเป็นการสนับสนุนและแลกเปลี่ยนความรู้กับองค์กรเอกชนอื่นๆ ที่อยู่ในกลุ่มอาเซียน

สำหรับงานในครั้งนี้ได้มีตัวแทนขององค์กรเอกชนและธุรกิจรับจัดการขนส่งที่มาจากประเทศลาว กัมพูชา พม่า เวียดนาม ซึ่งเราก็ทราบกันดีว่า กลุ่มประเทศเหล่านี้มีระดับการพัฒนาที่ต่ำกว่า แต่อย่างน้อยในกลุ่มของเอกชนเองก็ได้มีความช่วยเหลือ การแลกเปลี่ยน และการอบรมร่วมกันอยู่ตลอดเวลา โดยจะเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ของประเทศที่มีระดับการพัฒนาที่สูงกว่าทางด้านลอจิสติกส์กับประเทศอื่นๆ ที่กำลังเรียนรู้ ส่งผลให้ประเทศเหล่านั้นมีกระบวนการเรียนรู้ที่เร็วขึ้น สามารถก้าวผ่านขั้นตอนการพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว

สิ่งที่คณะทำงานคาดหวังจากงานนี้ คือ การยอมรับในหลักสูตรของกลุ่ม ASEAN Federation of Freight Forwarder ซึ่งจะทำให้ในอนาคตเราจะมีบริษัทที่สามารถให้บริการทางด้านลอจิสติกส์มากขึ้นในภูมิภาคอาเซียน แม้ว่าระดับการให้บริการอาจจะไม่เท่าเทียมกัน แต่ก็มีความเข้าใจถึงระบบลอจิสติกส์และโซ่อุปทาน

ซึ่งผมก็เห็นว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง เพราะแนวโน้มของอุตสาหกรรมจะเป็นไปในทิศทางที่ธุรกิจจะ outsourcing และบริษัทจะมุ่งเน้นกลับไปที่ core compendency ของตนเอง การมีบุคลากรที่เข้าใจในขบวนการด้านลอจิสติกส์ในภูมิภาคอาเซียนเอง น่าจะเป็นสิ่งที่ดีสำหรับการเพิ่มศักยภาพทางด้านการแข่งขันของประเทศสมาชิก

สุดท้ายนี้ สิ่งที่ผมอยากจะบอกก็คือ รัฐบาลควรให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง สำหรับบุคลากรในสาขาที่ขาดแคลน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านลอจิสติกส์และโซ่อุปทาน เพราะสำหรับภาคเอกชนเองนั้น พวกเขาไม่ได้ต้องการบุคลากรที่จบปริญญาตรีเป็นจำนวนมาก

หากแต่สิ่งที่พวกเขาต้องการก็คือ จำนวนของผู้ที่สามารถปฏิบัติงานได้จริงมากกว่า ดังนั้น นอกเหนือจากการศึกษาในระดับอุดมศึกษาแล้ว การสนับสนุนการศึกษาในระดับอาชีวะ ก็น่าจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพออกมาสู่สังคมได้


กรุงเทพทัศนะ
เวทีสาธารณะสำหรับ การ แสดงความคิดเห็น ผู้อ่านสามารถ ส่งบทความพิเศษ รายงานพิเศษ รายงานการวิจัย รายงานจากภาคสนาม เรื่องราวร้องทุกข์ หรือ จดหมาย มาได้ที่นี่
ชื่อคุณ :
หัวข้อ :
ข้อความ :

หัวข้อ 5 อันดับ ล่าสุด
272 . คุมบัตรเครดิตนโยบายนี้เพื่อแบงก์ไทย [ 0 ]
271 . "  อย่าเอาเขื่อนแก่งเสือเต้นเข้ามาทำลายชุมชนของหนูเลย  "   [ 1 ]
270 . กระทรวงไอซีที  กับการลดค่าใช้จ่ายด้านซอฟต์แวร์ [ 6 ]
269 . ช่องโหว่ [ 2 ]
268 . มีใครเห็นใจคนจนจริง  ๆ  บ้าง [ 4 ]




About Us I Suggestion I Site Map I GetThaiFont | Contact Us I Privacy Policy

copyright @ 2000 Nation Group / Produced & Designed by : KT Internet Dept.
All Right Reserved, Contact us : ktwebmaster@bangkokbiznews.com